การทดสอบและการให้เกรด (Testing
and Grading)
การทดสอบ
เป็นการนําข้อของคําถามที่สร้างขึ้นไปกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมตามที่ต้องการ
ออกมา โดยสามารถสังเกตและวัดได้ การทดสอบนี้มักจะใช้ในการวัด และการประเมินผลการเรียนการสอน
เป็นส่วนใหญ่ โดยใช้แบบทดสอบเป็นเครื่องมือสําคัญ แบบทดสอบนี้มีด้วยกันหลายประเภท
แล้วแต่เกณฑ์ที่ ใช้ในการจําแนกซึ่งพอจําแนกได้ดังนี้
1
จําแนกตามลักษณะการกระทํา ได้แก่
1.1 แบบทดสอบแบบให้ลงมือทํากระทํา
(Performance
Test) ได้แก่ แบบทดสอบ
ภาคปฏิบัติ
ทั้งหลาย เช่น การทดสอบวิชาพลศึกษา การทดสอบวิชาขับร้องนาฏศิลป์ เป็นต้น
1.2 แบบทดสอบแบบเขียนตอบ
(Paper-Pencil
Test) ได้แก่ การทดสอบที่ให้ผู้สอบต้อง
เขียน
ตอบในกระดาษและการใช้การเขียนเป็นเกณฑ์ เช่น แบบทดสอบอัตนัย แบบทดสอบความเรียง
เป็นต้น
1.3 แบบทดสอบปากเปล่า
(Oral
Test) เป็นแบบทดสอบที่ผู้สอบต้องตอบด้วยวาจาแทน
การ
เขียนตอบ หรือการปฏิบัติ หรือการปฏิบัติ เป็นการเรียกมาซักถามกันตัวต่อตัว
เหมือนกับการสอบสัมภาษณ์
แต่เป็นการซักถามเกี่ยวกับเนื้อหาสาระมากกว่าการสอบสัมภาษณ์ปกติ
2
จําแนกตามสมรรถภาพที่ใช้วัด ได้แก่
2.1 แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์
(Achievement Test) เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดระดับความรู้
ความสามารถและทักษะทางวิชาการที่ได้จากการเรียนรู้แบ่งเป็น
2 ชนิด คือ
2.1.1
แบบทดสอบที่ผู้สอนสร้างเอง (Teach-made Test)
เป็นแบบทดสอบที่สร้าง
ขึ้น
เฉพาะครั้งคราว เพื่อใช้ทดสอบความรู้ความสามารถและทักษะของผู้เรียนในห้องเรียนบางครั้งอาจเรียกว่า
แบบทดสอบชั้นเรียน (Classroom Test) แบบทดสอบชนิดนี้เมื่อสอบเสร็จแล้วมักไม่ใช้อีก
และถ้าต้องการ สอบใหม่ก็จะสร้างใหม่หรือปรับปรุงดัดแปลงของเก่ามาใช้ใหม่อีกครั้ง
2.1.2 แบบทดสอบมาตรฐาน
(Standardized Test) เป็นแบบทดสอบที่สร้างและ
ผ่าน
กระบวนการพัฒนาจนมีคุณภาพได้มาตรฐาน
2.2 แบบทดสอบความถนัด
(Attitude Test) เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดความสามารถทาง
สมอง
(Mental
Ability) ที่เกิดจากการสะสมประสบการณ์ต่างๆ
ใช้สําหรับทํานายสมรรถภาพทางสมองว่าสามารถ เรียนไปได้ไกลเพียงไร
หรือมีความถนัดไปในทางใด
2.3
แบบทดสอบบุคลิกภาพและสถานภาพทางสังคม (Personal Social Test)
เป็นแบบทดสอบที่ จะวัดบุคลิกภาพของคน เช่น เจตคติ ความสนใจ นิสัย
ค่านิยม ความเชื่อ การปรับตัว สถานภาพทางสังคม และสถานภาพทางอารมณ์ เป็นต้น
3. จําแนกตามลักษณะการตอบ
ซึ่งอาจแบ่งได้ 2 ประเภท
ได้แก่
3.1 แบบทดสอบความเรียง (Essay
Test) เป็นแบบทดสอบที่ให้ผู้ตอบหาคําตอบและเรียบ
เรียงคําตอบขึ้นเอง ผู้ตอบสามารถแสดงความรู้ความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่
3.2 แบบทดสอบปรนัย (Objective
Test) เป็นแบบทดสอบที่มุ่งให้ผู้ตอบตอบเพียงสั้นๆ
หรือ เลือกคําตอบจากที่กําหนดไว้
แบบทดสอบที่นิยมใช้ในการเรียนการสอน
แบบทดสอบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด
แต่ละชนิดมีจุดมุ่งหมายและความสามารถ ในการวัดต่างกัน
ดังนั้นการนําแบบทดสอบไปใช้จึงต้องพิจารณาเลือกใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับ
จุดมุ่งหมายที่นําไปใช้
แบบทดสอบที่ใช้กันอยู่ในการเรียนการสอนนั้นเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่
ผู้สอนสร้างขึ้นเองโดยจําแนกตามลักษณะการตอบเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1. แบบทดสอบอัตนัยหรือความเรียง
(Subjective
or Essay Test)
2. แบบทดสอบปรนัย
(Objective
Test)
รายละเอียดของแบบทดสอบแต่ละประเภทมีดังนี้
1. แบบทดสอบอัตนัยหรือความเรียง
เป็นแบบทดสอบที่ให้คําตอบโดยไม่มีขอบเขตของคําตอบ ที่แน่นอนไว้
การตอบใช้การเขียนบรรยายหรือเรียบเรียงคําตอบอย่างอิสระตามความรู้
ข้อเท็จจริงตามความ
คิดเห็นและความสามารถที่มีอยู่โดยไม่มีขอบเขตจํากัดแน่นอนตายตัวที่เด่นชัด
นอกจากกําหนดด้วยเวลา การ ตรวจให้คะแนนไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัว
ส่วนมากมักขึ้นอยู่กับผู้ตรวจสอบเป็นสําคัญแบบทดสอบนี้ ยังแบ่งได้ เป็น 2 แบบดังนี้
1.1 แบบทดสอบจํากัดคําตอบซึ่งจะถามแบบเฉพาะเจาะจงแล้วต้องการคําตอบเฉพาะเรื่อง
ผู้ตอบต้องจัดเรียงลําดับความคิดให้เป็นระเบียบ
เพื่อให้ตรงประเด็นดังนั้นผู้ออกข้อสอบจึงต้องระมัดระวังใน เรื่องคําสั่งของโจทย์
ขอบเขตเนื้อหา เวลาในการเขียนตอบ และความสะดวกในการให้คะแนนได้มากกว่า
แบบไม่จํากัดคําตอบ เพราะแบบทดสอบแบบนี้จะมีเกณฑ์ต่างๆ
ที่จะตัดสินคะแนนให้ยุติธรรมมากกว่าแบบ ไม่จํากัดคําตอบ
นอกจากนี้แบบทดสอบแบบอัตนัยประเภทจํากัดคําตอบนี้ยังตรวจได้ง่ายเพราะคําตอบที่ถูก
จะอยู่ในกรอบที่กําหนดไว้
ดังนั้นจึงเหมาะสมที่จะนํามาใช้เมื่อมีผู้เข้าสอบเป็นจํานวนมาก และต้องการดู
ความสามารถในการเขียนของผู้ตอบด้วยตัวอย่างเช่น
•จงเบรียบเทียบลักษณะของการปกครองระบอบประชาธิปไตยและการปกครองเนส
การ
มาอย่างละ
3 ข้อ
• จงบรรยายขั้นตอนการทําน้ําให้สะอาดให้ครบทุกขั้นตอน ฯลฯ
1.2
แบบทดสอบแบบไม่จํากัดคําตอบหรือแบบขยายความ แบบทดสอบแบบนี้จะถาม
ความรู้
ความสามารถต่างๆ โดยให้ผู้ตอบแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ
ซึ่งจะสามารถวัดสมรรถภาพทางความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์ เจตคติ
การประเมินค่าได้อย่างกว้างขวาง ปริมาณและคุณภาพของคําตอบจึงขึ้นอยู่กับคําถาม
และความรู้ที่สะสมไว้ว่ามีอยู่มากน้อยเพียงใด การกําหนดเวลาในการเขียนตอบ
จึงต้องกําหนดให้เหมาะสม กับเรื่องที่ต้องการทราบ
แบบทดสอบแบบนี้ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการรวบรวมความคิด การประเมินค่า และ
การใช้วิธีการต่างๆ ในการแก้ปัญหา ซึ่งแบบทดสอบแบบนี้มีจุดอ่อนอยู่ที่การให้คะแนน
เพราะเป็นการยากที่
จะหาเกณฑ์ในการให้คะแนนได้ถูกต้องและชัดเจนเนื่องจากผู้ตอบมีอิสระในการคิดและเขียนโดยเสรี
ตัวอย่างเช่น
• จงเสนอโครงการในการพัฒนาบุคลิกภาพของนักศึกษาวิชาชีพครูให้มีบุคลิกภาพที่ดี
ตามความคิดเห็นของท่าน
• พุทธศาสนาจะช่วยพัฒนาสังคมได้อย่างไร
จงอธิบายพร้อมให้เหตุผลประกอบ ฯลฯ
2. แบบทดสอบแบบปรนัย
แบบทดสอบแบบนี้จะกําหนดคําถามและคําตอบไว้ให้ โดย
ผู้ตอบ
จะต้องอ่านด้วยความพินิจพิจารณาแล้วจึงพิจารณาคําตอบ
แบบทดสอบแบบปรนัยนี้มีลักษณะเด่นที่ผู้ตอบ จะต้องใช้เวลาส่วนมากไปในการอ่านและคิด
ส่วนการตอบใช้เวลาน้อย การตรวจทําได้ง่ายใช้ใครตรวจก็ได้
และสามารถใช้เครื่องสมองกลช่วยตรวจให้ได้
เพราะผลที่ได้จากการตรวจจะไม่แตกต่างกันเลย แบบทดสอบ แบบปรนัยนี้มีทั้งให้ผู้ตอบเขียนคําตอบเองกับเลือกคําตอบที่กําหนดให้
โดยมีรายละเอียดดังนี้
2.1
แบบทดสอบเขียนคําตอบ ได้แก่
2.1.1 แบบทดสอบแบบตอบสั้น
เป็นข้อสอบที่ผู้ตอบจะต้องหาคําตอบเองแต่เป็นคําตอบ
สั้น
ๆ เหมาะสําหรับใช้วัดความรู้ ความจํา เกี่ยวกับคําศัพท์ ข้อเท็จจริง หลักการและหลักเกณฑ์ต่างๆ
เป็นการ ให้ระลึกถึงสิ่งต่างๆ ที่ผ่านมา ตัวอย่างเช่น
• ยานอวกาศลําแรกที่ลงบนดวงจันทร์
(ยานอพอลโล่ 11)
• 6+9 จะได้คําตอบเท่าไร
(15)
• ป่าที่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นเขียวชอุ่มตลอดปีเรียกว่าอะไร
(ป่าดงดิบ) ฯลฯ
2.1.2 แบบทดสอบแบบเติมคํา
มีลักษณะคุณสมบัติและการใช้คําเหมือนกับแบบตอบ
สั้น
ต่างกันที่การถาม
แบบเติมคําจะเว้นช่องว่างไว้ให้เติมคําตอบ ตัวคําถามจะเป็นประโยคไม่สมบูรณ์ แต่แบบ
ตอบสั้นจะเป็นประโยคสมบูรณ์ ตัวอย่างเช่น
• ยานอวกาศลําแรกที่ลงบนดวงจันทร์………(ยานอพอลโล่ 11)
• 6+9 =......................... (15)
• ป่าที่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นเขียวชอุ่มตลอดปีเรียกว่า
............... (ป่าดงดิบ)
2.2 ข้อสอบแบบเลือกคําตอบ
ได้แก่
2.2.1 ข้อสอบแบบถูก-ผิด
เป็นข้อสอบที่กําหนดให้ผู้ตอบเลือกคําตอบว่าข้อความที่
กําหนดให้นั้นถูกหรือผิดเท่านั้น
ข้อสอบแบบนี้เหมาะสําหรับวัดผลการเรียนรู้ระดับความรู้ความจําลักษณะ
เช่นเดียวกับแบบตอบสั้น คือ สร้างความง่ายผู้ตอบเสียเวลาตอบน้อย วัดเนื้อหาได้มาก
มักมีค่าความเที่ยงสูง แต่เปิดโอกาสให้เดาได้มาก ตัวอย่างเช่น
• ลายเสือไท
ถือว่าเป็นมรดกอันยิ่งใหญ่ทางวัฒนธรรม •ตําบลเป็นหน่วยการ
ปกครองที่เล็กที่สุด
• ผิวพื้นที่ขรุขระจะมีแรงเสียดทานน้อยกว่าผิวพื้นที่เรียบ
ฯลฯ
2.2.2 ข้อสอบแบบจับคู่ เป็นข้อสอบให้เลือกจับคู่ระหว่างคําหรือข้อความสองแถว
ให้คํา
หรือข้อความทั้งสองนั้นสอดคล้องกัน
โดยมากมักจะใช้ข้อความว่ามีความหมายตรงกัน ข้อสอบชนิดนี้เหมาะ
สําหรับวัดความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงคําศัพท์ หลักการ ความสัมพันธ์
และการตีความในเรื่องเดียวกัน ตัวอย่างเช่น
•...............ก.
ไม้กระดานที่พาดเอียงกับขอบรถ 1.
ขวาน
•...............ข.
เครื่องผ่อนแรงที่ใช้ยกรถ 2. คานดีด
คานงัด
•...............ค.
เครื่องมือผ่อนแรงในการตัดต้นไม้ 3. แม่แรง
•...............ง.
เครื่องมือผ่อนแรงในการยกของพื้นที่สูง 4.รอก
•................จ. ไม้กระดานกระดก 5. พื้นลาด พื้นเอียง
2.2.3 แบบทดสอบแบบเลือกตอบ
เป็นข้อสอบที่บังคับให้ผู้ตอบเลือกคําตอบจากที่
กําหนดให้
ปกติจะมีคําตอบให้เลือกตั้งแต่ 3 ตัวเลือกขึ้นไป
แต่มักไม่เกิน 6 ตัวเลือก ข้อสอบชนิดนี้นิยมใช้กัน ทั่วไป
ใช้วัดผลการเรียนรู้ได้เกือบทุกระดับ แม้จะสร้างความยากต้องเสียเวลาสร้างมาก
แต่คุ้มกับแรงงานและ เวลาที่เสียไป เพราะสามารถเก็บไว้ใช้ได้ต่อไป ตัวอย่างเช่น
•What
color is the tree?
a. Pink b. Purple C. Green
• พ่อขุนศรีอินทราทิตย์มีพระนามเดิมว่าอย่างไร
ก. พ่อขุนบางกลางหาว ข. พ่อขุนศรีนาวนําถม
ค. พ่อขุนผาเมือง ง. พ่อขุนบานเมือง
กล่าวโดยสรุปแล้วแบบทดสอบหรือข้อสอบที่นิยมใช้ในการเรียนการสอนทั้ง
แบบทดสอบ
แบบอัตนัยหรือความเรียง
และแบบทดสอบแบบปรนัยต่างมีข้อดีและข้อจํากัดด้วย
ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่นําไปใช้ตามตารางที่ 23
ดังนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น