รูปแบบ The
Studies model มีจุดหมายเพื่อให้นักศึกษาวิชาชีพครูมีความรู้ความเข้าใจบทบาทที่สำคัญในฐานะผู้เรียนที่จะต้องศึกษาศาสตร์การสอนและมีบทบาทในฐานะผู้สอนที่จะนำความรู้ไปจัดการเรียนรู้และจัดการชั้นเรียนรายละเอียดดังภาพประกอบที่
2
ภาพ ประกอบที่ 2
ที่มา พิจิตราธงพานิช การพัฒนารูปแบบ the studies
model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้
และ การจัดการชั้นเรียน สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู 2561: 7
รูปแบบ The
Studies model
มี 7ขั้นตอน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
S: กำหนดจุดหมายการเรียนรู้
(Setting learning goals) การกำหนดจุดหมายการเรียนรู้
ผู้เรียนต้องระบุจุดหมายการเรียนรู้(Goals) ด้วยการระบุความรู้และการปฏิบัติ
โดยการระบุความรู้ในรูปของสารสนเทศ(Declarative Knowledge) และระบุทักษะ
การปฏิบัติ หรือกระบวนการ(Procedural Knowledge) จุดหมายการเรียนรู้ไม่ได้ถูกจำกัดด้วยจำนวนของบทเรียน
ปริมาณเนื้อหาสาระหรือความรู้สูงสุดแต่หมายถึงความคาดหวังที่จะเรียนต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งและเจตนาที่จะให้ผู้เรียนแสดงถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้
T: วิเคราะห์ภาระงาน(Task
Analysis) ศึกษาข้อมูลต่างๆเพื่อให้ได้ความรู้ (Knowledge) ทักษะ(Skill)และเจตคติ (Attitude) ที่เกี่ยวข้องเพื่อการอธิบายพลังงานหรือกิจกรรมที่ช่วยนำทางผู้เรียนไปสู่จุดหมายการเรียนรู้
การวิเคราะห์งานจะเขียนแสดงความสัมพันธ์ด้วย KSK diagram คือ Knowledge – Skill Attitude
U: การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
(Universal Design for Instruction UDI) เป็นการออกแบบการสอนที่ครูมีบทบาทเป็นผู้ดำเนินการเชิงรุก (Proactive)
เกี่ยวกับการผลิตหรือจัดหาจัดทำสีและผลิตภัณฑ์การศึกษา (educational
products computers, websites, software) และสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
(dormitories,classroom,student union buildings,libraries)ที่จะระบุถึงในทุกขั้นตอนการเรียนการสอน
D: การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล
(Digital Learning )การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลเป็นการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายเช่นเครือข่ายสังคมออนไลน์
(Social networking) การแชร์ภาพและการใช้อินเตอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่เป็นต้นการเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลนัยมากกว่าการรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศแต่ยังครอบคลุมถึงประเด็นต่างๆเกี่ยวกับเนื้อหาจริยธรรม
สังคม และการสะท้อน (Reflection)ซึ่งฝังอยู่ในการเรียนรู้การทำงานในชีวิตประจำวัน
I:การบูรณาการความรู้
(Integrated Knowledge)การเชื่อมโยงความรู้ที่เกี่ยวข้องภายในสัตว์ต่างๆของรายวิชาเดียวกันหรือรักษาวิชาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
(Integrated Learning Management) เป็นกระบวนการการจัดประสบการณ์โดยเชื่อมโยงสาระความรู้ของศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องให้ผู้เรียนได้รับความรู้ทักษะและเจตคติ
E: การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน
(Evaluation to Improve Teaching) การประเมินการเรียนรู้ของตนเองโดยกำหนดค่าคะแนนจากการวิเคราะห์การประเมินการเรียนรู้ด้านความรู้
(Cognitive Domain) ของบลูม (Bloom’s Taxonomy) การประเมินตามสภาพจริงและการประเมินจากแฟ้มสะสมงานเป็นการตรวจสอบการบรรลุจุดหมายการเรียนรู้
S: การประเมินมาตรฐาน
(Standard Based Assessment) การประเมินคุณภาพการเรียนรู้อิงมาตรฐานโดยใช้แนวคิดพื้นฐานโครงสร้างจากการสังเกตผลการเรียนรู้
(Structure of Observed Learning Outcomes: SOLO Taxonomy ) มากำหนดระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นการตรวจสอบคุณภาพการเรียนรู้รวมถึงมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น