ทักษะ EF
EF ( Executive Function ) คือ การทำงานของสมองด้านการจัดการ
ซึ่งมีอิธิพลต่อความสำเร็จในชีวิต "ฟังดูน่าสนใจมาก"โดยอาศัยกระบวนทางปัญญา(cognitive
process) ต่างๆ เช่น การยับยั้งความคิด การแก้ปัญหา การวางเป้าหมาย
การวางแผนไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ( goal - directed behavior) สรุปคือ เป็นความสามารถในการควบคุมความคิดของตนเองนั่นเอง เช่น
มีรูปแบบความคิดที่หลากหลาย การคิดนอกกรอบ
ความสามารถในการปรับเปลี่ยนความคิดและความสนใจตามสถานการณ์
และการปฏิบัติตามคำสั่งที่ซับซ้อน
EF ( Executive Function ) ที่สำคัญมีทั้งหมด 9 ด้าน
1.ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working
Memory) คือทักษะจำหรือเก็บข้อมูลจากประสบการณ์ที่ผ่านมา
และดึงมาใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์ที่พบเจอ
2.ทักษะการยับยั้งชั่งใจ-คิดไตร่ตรอง
(Inhibitory Control) คือความสามารถในการควบคุมความต้องการของตนเองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจจะเหมือน "รถที่ขาดเบรก"
อาจทำสิ่งใดโดยไม่คิด มีปฏิกิริยาในทางที่ก่อให้เกิดปัญหาได้
3.ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift
Cognitive Flexibility) คือความสามารถในการยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้
ไม่ยึดตายตัว
4.ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus) คือความสามารถในการใส่ใจจดจ่อ มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่าง
ต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง
5.การควบคุมอารมณ์ (Emotion
Control) คือ
ความสามารถในการควบคุมแสดงออกทางอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
เด็กที่ควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่ได้ มักเป็นคนโกรธเกรี้ยว ฉุนเฉียว และอาจมีอาการซึมเศร้า
6.การประเมินตัวเอง (Self-Monitoring) คือการสะท้อนการกระทำของตนเอง รู้จักตนเอง
รวมถึงการประเมินการงานเพื่อหาข้อบกพร่อง
7.การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating) คือ ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำตามที่คิด ไม่กลัวความล้มเหลว
ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
8.การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ (Planning
and Organizing) คือทักษะการทำงาน ตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย
การวางแผน การมองเห็นภาพรวม ซึ่งเด็กที่ขาดทักษะนี้จะวางแผนไม่เป็น
ทำให้งานมีปัญหา
9.การมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed
Persistence) คือ ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำสิ่งใดแล้ว
ก็มีความมุ่งมั่นอดทน ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆ ก็พร้อมฝ่าฟันให้สำเร็จ
EF เกี่ยวข้องกับความสำเร็จอย่างไร รศ.ดร.นวลจันทร์อธิบายว่า มีงานวิจัยมากมายระบุว่าเด็กที่มี EF ดี
จะมีความพร้อมทางการเรียนมากกว่าเด็กที่ EF ไม่ดี
และประสบความสำเร็จได้ในการเรียนทุกระดับ ตั้งแต่อนุบาล ประถม มัธยม
ไปถึงมหาวิทยาลัย จนกระทั่ง ในการทำงาน เด็กที่หยุดได้ ไตร่ตรองเป็น
ไม่หุนหันพลันแล่น มีเป้าหมาย และทำตามเป้าหมายให้สำเร็จ
นี่แหละจะทำให้เขาประสบความสำเร็จเมื่อโตขึ้น
"มนุษย์เราไม่ได้เกิดมาพร้อมทักษะ
EF แต่เราเกิดมาพร้อมศักยภาพที่จะพัฒนาทักษะเหล่านี้ได้
ผ่านการฝึกฝนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การวิจัยจำนวนไม่น้อยชี้ให้เห็นว่า EF เริ่มพัฒนาขึ้นในเวลาไม่นานหลังปฏิสนธิ โดยช่วงวัย 3-6 ขวบ เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการพัฒนาทักษะ EF ด้านต่างๆ
ให้กับเด็ก เพราะเป็นช่วงที่สมองส่วนหน้าพัฒนามากที่สุด"
และพ่อแม่จะพัฒนาทักษะนี้ให้ลูกอย่างไร
รศ.ดร.นวลจันทร์แนะว่า พ่อแม่ยังต้องดูแลเรื่องอาหารการกิน การพักผ่อน
ให้ความรักความอุ่นเขาตามปกติ เพราะถ้าเด็กการรับรู้ไม่ดี
ประสาทสัมผัสทั้งหลายไม่ดี เขาก็ยากที่จะพัฒนา EF ได้
"ส่วนจะสอนอะไรเพื่อให้เด็กมี EF ดี มีหลายวิธี
ไม่ว่าจะเป็นการเลือกของเล่นให้ลูกได้คิดอย่างสร้าง สรรค์ เช่น เลโก้ หมากฮอส
หมากรุก พวกนี้ฝึกสมองส่วนหน้าช่วยพัฒนาความคิดของเด็ก หรือแม้แต่ทำงานบ้าน
เป็นการฝึกให้มีความรับผิดชอบ รวมทั้งการอ่านหนังสือ
ยิ่งพ่อแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังมากเท่าไหร่ เด็กจะมีทักษะเรื่องการอ่าน การเขียน
เชาวน์ปัญญาดีขึ้นเท่านั้น
หรือส่งเสริมให้เด็กเล่นดนตรีก็เป็นการฝึกสมองที่ดีเช่นกัน"
ที่สำคัญอย่าให้เด็กเครียด
ถ้าเครียดเมื่อไหร่สมองส่วนหน้าจะไม่ทำงาน ฉะนั้น "สิ่งแวดล้อมที่ไม่กดดัน
มากนัก และมีความเป็นมิตร จะช่วยเปิดโอกาสให้เด็กกล้าคิดกล้าทำ" รศ.ดร.นวลจันทร์กล่าวการดูแลลูกที่ถูกต้องในวัยที่สำคัญ
เป็นการพัฒนาคนให้เป็นคนที่มีคุณภาพ
ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน
ในประเทศไทยมี รศ.ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาและคณะจากศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์
สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ศึกษาวิจัยและรวบรวมงานวิจัยจากต่างประเทศ
และสถาบันอาร์แอลจีได้จัดการความรู้และพัฒนาให้ความรู้ EF เป็นที่เข้าใจง่าย
โดยมุ่งหวังให้พ่อแม่และบุคลากรทางการศึกษา
โดยเฉพาะปฐมวัยศึกษาสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาเด็กได้อย่างเป็นรูปธรรม
ด้วยมุ่งมั่นว่า EF จะเป็นองค์ความรู้หนึ่งที่จะร่วมส่งเสริมการปฏิรูปการศึกษาของไทยที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้
นางสุภาวดี หาญเมธี ประธานสถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) เปิดเผยว่า EF (Executive Functions) เป็นกระบวนการทางความคิด (Mental process) ในสมองส่วนหน้าที่เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึก และการกระทำ เช่น การยั้งใจคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด การตั้งเป้าหมาย วางแผน ความมุ่งมั่น การจดจำและเรียกใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่างๆ และการทำสิ่งต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนจนบรรลุความสำเร็จ ซึ่งเป็นทักษะที่มนุษย์เราทุกคนต้องใช้ และมีความสำคัญยิ่งต่อทั้งความสำเร็จในการเรียน การทำงาน รวมทั้งการมีชีวิตครอบครัว โดยทักษะ EF นี้ นักวิชาการระดับโลกชี้แล้วว่าสำคัญกว่า IQ ทั้งนี้ มีงานวิจัยชัดเจนว่า ช่วงวัย 3-6 ปีนี้ เป็นช่วงเวลาทองของชีวิตในการพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็ก เพราะสมองจะมีการพัฒนาทักษะ EF ได้ดีที่สุดในช่วงเวลานี้ พ้นจากช่วงเวลานี้ไปถึงวัยเรียน วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ตอนคตแม้จะยังพัฒนาได้ แต่ก็จะไม่ได้ดีเท่ากับช่วงปฐมวัย
นางสุภาวดี หาญเมธี ประธานสถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) เปิดเผยว่า EF (Executive Functions) เป็นกระบวนการทางความคิด (Mental process) ในสมองส่วนหน้าที่เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึก และการกระทำ เช่น การยั้งใจคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด การตั้งเป้าหมาย วางแผน ความมุ่งมั่น การจดจำและเรียกใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่างๆ และการทำสิ่งต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนจนบรรลุความสำเร็จ ซึ่งเป็นทักษะที่มนุษย์เราทุกคนต้องใช้ และมีความสำคัญยิ่งต่อทั้งความสำเร็จในการเรียน การทำงาน รวมทั้งการมีชีวิตครอบครัว โดยทักษะ EF นี้ นักวิชาการระดับโลกชี้แล้วว่าสำคัญกว่า IQ ทั้งนี้ มีงานวิจัยชัดเจนว่า ช่วงวัย 3-6 ปีนี้ เป็นช่วงเวลาทองของชีวิตในการพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็ก เพราะสมองจะมีการพัฒนาทักษะ EF ได้ดีที่สุดในช่วงเวลานี้ พ้นจากช่วงเวลานี้ไปถึงวัยเรียน วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ตอนคตแม้จะยังพัฒนาได้ แต่ก็จะไม่ได้ดีเท่ากับช่วงปฐมวัย
The Marshmallow Test
EF ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ...ในวัยอนุบาล
เมื่อให้เด็กวัยประมาณ ๓-๕ ปี เข้าไปอยู่ในห้องทีละคน โดยมีผู้ใหญ่วางขนมมาร์ชมาลโลว์หนึ่งชิ้นไว้ข้างหน้าเด็กคนนั้น |
และบอกเด็กน้อยว่าจะออกไปข้างนอก
๑๕ นาที ถ้ากลับเข้ามาเด็กน้อยไม่กินขนมมาร์ชมาลโลว์ที่วางอยู่
เด็กน้อยจะได้รางวัลด้วยขนมอีกชิ้นหนึ่ง
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น