การออกแบบที่เป็นสากลในการเรียนการสอน (Universal Design for Instruction :UDI)
          การนําแนวคิด UD มาใช้โดยเป็นการประยุกต์เพื่อการตอบสนองต่อความต้องการของ ความต้องหลากหลาย โดยมีหลักการว่า UD นั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจว่า ผู้เรียนแต่ละคนมี ลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน และมีความต้องการที่แตกต่างกันด้วย ซึ่งการนํา UD ไปใช้ในการศึกษาก็เพื่อ สร้างสรรค์สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนในแต่ละคน และส่งเสริมให้ ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองได้เต็มที่ตามศักยภาพ (Eagleton, 2008)
          Scott, Shaw and McGuire (2001) ได้เสนอหลักการในการออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล ไว้ 9 ประการ ในการออกแบบการสอนที่เป็นสากล(Universal Design of Instruction หรือ UDI) ได้รับการ พัฒนามาจากการศึกษาค้นคว้างานเขียนและงานวิจัยเกี่ยวกับหลักการในการออกแบบที่เป็นสากล (L) Design หรือUD) และการเรียนการสอนที่มีประสิทธิผลเพื่อเป็นบรรทัดฐานให้ครูผู้สอน ใช้ในการครุ่นคิด ไตร่ตรอง โดยนําไปใช้ได้หลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบหลักสูตรใหม่ ๆ หรือใช้เพื่อพิจารณาการ สิ่งที่ทําอยู่แล้ว ณ ปัจจุบันก็ได้แล้วแต่ความจําเป็นของผู้สอนแต่ละท่าน หลักการทั้ง 9 ประการนี้จะแสดงให้ เห็นถึงปัญหาเกี่ยวกับการสอน หรือเป็นแนวทางในการสอน ไม่ว่าจะเป็นการประเมินการเรียนรู้ของนักเรียน หรือการขยายประสบการณ์การเรียนรู้ หรือการพิจารณาว่าจะสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้เหมาะสมกับเด็ก ทุกคนได้อย่างไร ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าผู้สอนจะใช้หลักการทุกข้อกับการเรียนการสอนทุกด้านพร้อม ๆ กันได้ แต่เมื่อดูชั้นเรียนโดยองค์รวม จะพบว่าหลักการแต่ละข้อจะเข้ามามีบทบาท หลักการทั้งหมดนี้มี ประโยชน์สําหรับผู้สอนทุกท่าน ไม่เว้นแม้แต่ผู้มีประสบการณ์ช่ำชองจากสาขาวิชาต่าง ๆ และมีประโยชน์ สูงสุดสําหรับผู้สอนมือใหม่หรือครูผู้ช่วยสอนที่ต้องการคําแนะนําและแนวทางในการสอน
          Scott, Shaw and McGuire (2003 : 369 379) ได้นําเสนอหลักการในการออกแบบการเรียนการ สอนที่เป็นสากลไว้ 9 ประการ ดังนี้
          1. ความเสมอภาคในการใช้งาน (EQUITABLE USE)
          เป็นการออกแบบเพื่อให้สามารถใช้ประโยขน์ได้สำหรับทุกคน ข้อมูลและอุปกรณ์ต้องใช้งานได้อย่างราบรื่น โดยกลุ่มนักเรียนที่เยอะขึ้นและมีความหลากหลายมากขึ้น หมายถึงการใช้อุปกรณ์การเรียนการสอนที่เหมือนกัน "เมื่อใดก็ตามที่เป็นไปได้ และใช้อปกรณ์ที่เทียบเท่าเมื่อใช้อุปกรณ์ที่เหมือนกัน ไม่ได้" ตัวอย่างเช่นข้อความดิจิทัลในรูปแบบที่ใช้ได้กับซอฟต์แวร์อ่านข้อความหลายๆ ชนิด และเชื่อมโยงไปยังข้อมูลเบื้องหลังสําหรับนักเรียนทุกคน
          2. ความยืดหยุ่นในการใช้ (FLEXIBILITY IN USE)
          เป็นการออกแบบที่ทําให้ผู้เรียนแต่ละคนที่มีความหลากหลายได้ใช้ได้เช่นเดียวกัน ต้องมี ตัวเลือกหากผู้เรียนต้องการฟังเนื้อหาต้องทําได้ หรือจะพิมพ์ออกมาเป็นเอกสารที่จับต้องได้ และยังต้องปรับขนาดและความคมชัดของตัวอักษรได้เพื่อประโยชน์ต่อผู้เรียนที่มีปัญหาด้านสายตา ผู้สอนควรจัดเตรียมวิธีการสอนที่หลากหลาย เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้เดียวกันในหลายรูปแบบ
          3. ง่ายและเป็นธรรมชาติ (SIMPLE AND INTUITIVE)
          เป็นการออกแบบที่ทําให้ผลิตภัณฑ์นั้นใช้งานง่าย สิ่งสําคัญในการเรียนรู้คือความเข้าใจเนื้อหาที่เรียน ไม่ใช่วิธีในการทําความเข้าใจ (วิธีไม่สําคัญ สําคัญคือเข้าใจ) เมื่อผู้สอนจะนําหลักการนี้ไปใช้จึงต้องใช้ ตารางคะแนนช่วย (ในตารางจะเขียนว่าต้องเข้าใจอะไรอย่างไร)
          4. สารสนเทศที่ช่วยให้รับรู้ได้ (PERCEPTIBLE INFORMATION)
          เป็นการออกแบบที่ทําให้ผู้เรียนแต่ละคนเข้าถึงข้อมูลได้เหมือนกัน ข้อมูลสารสนเทศความรู้จะถูกนําเสนอแก่ผู้เรียนในลักษณะที่สามารถเข้าถึงได้ (ตัวอย่างเช่นเมื่อพูดถึงกราฟิกจะมีการอธิบาย หรือใช้ แท็กสําหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสายตา ส่วนคําบรรยายมีไว้สําหรับนักเรียนที่มีความบกพร่อง ทางการได้ยิน และเอกสารการอ่านทั้งหมดจะมีให้ในรูปแบบดิจิทัลที่เข้าถึงได้)
          5. การยอมรับว่าจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น (TOLERANCE FOR ERROR)
          เป็นการออกแบบที่คํานึงความปลอดภัยของผู้เรียน (ในฐานะใช้) ผู้สอนต้องเข้าใจว่าผู้เรียนมี ประสบการณ์ที่แตกต่างกัน และมีแหล่งเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ผลก็คือประสิทธิภาพของการสอนก็ย่อมแปรผัน ไปเช่นเดียวกัน ผู้สอนต้องให้ผู้เรียนแบ่งโครงงานใหญ่ ๆ ออกเป็นส่วนเล็ก ๆ มาส่งก่อน เพื่อจะได้นํา ข้อเสนอจากผู้สอนไปปรับปรุงโครงงานโดยรวม
          6. ความสามารถทางกายภาพที่ต่ำ (LOW PHYSICAL EFFORT)
          เป็นการออกแบบเพื่อให้ผู้ใช้มีความเมื่อยล้าในการใช้น้อยที่สุด เมื่อความพยายามทางกายภาพ ไม่ได้เป็นส่วนสําคัญของหลักสูตรายวิชา ความพยายามทางกายภาพควรจะขจัดให้หายไปเพื่อที่ผู้เรียนจะ "เพิ่มความสนใจในการเรียนรู้" ดังนั้นการลดอุปสรรคการเรียนรู้ในทางกายภาพก็เป็นดีในการเรียนรู้สําหรับ ผู้เรียนบางคน
          7. ขนาดและพื้นที่สําหรับการประยุกต์ใช้และการใช้ (SIZE AND SPACE FOR APPROACH AND USE)
          เป็นการออกแบบเพื่อผู้ใช้ที่มีขนาดร่างกายที่แตกต่างกันใช้ได้อย่างสะดวก พิจารณาความ ต้องการของผู้เรียนภายในพื้นที่ที่กําหนดไว้ โดยให้ความสําคัญกับการเปลี่ยนแปลงในขนาดร่างกาย ท่าทาง การเคลื่อนไหว และความต้องการของนักเรียน
          8. ชุมชนของผู้เรียน (A COMMUNITY OF LEARNERS)
          เป็นการออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ สร้างสภาพแวดล้อม (ทั้งทางกายภาพและทางออนไลน์) อดภัยและสนับสนุนการโต้ตอบระหว่างนักเรียนด้วยกันเอง รวมทั้งระหว่างนักเรียนและผู้สอน
          9. บรรยากาศในการสอน ( INSTRUCTIONAL CLIMATE)
          เป็นการออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ ที่สภาพแวดล้อมได้รับการออกแบบมาเพื่อผู้เรียน คน สื่อสารให้นักเรียนรับรู้ว่าผู้สอนมีตั้งความคาดหวังไว้สูงสําหรับผู้เรียนทุกคน อาจารย์ผู้สอนสามารง เริ่มต้นกระบวนการนี้ได้ทั้งในหลักสูตรกับคําแถลงเกี่ยวกับความคาดหวังในการเคารพต่อความแตกต่างและ ความหลากหลายรวมถึงข้อความกระตุ้นให้นักเรียนเปิดเผยตนเองเกี่ยวกับปัญหาการเรียนรู้ที่ได้รับการรับรองหรือสงสัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น