จุดมุ่งหมายการศึกษาของบลูม
Bloom และคณะ (1956)
ได้จัดกลุ่มการเรียนรู้ออกเป็นสามประเภท คือ ด้านพุทธพิสัย
ด้านทักษะ พิสัย และด้านพิสัย พุทธพิสัยรวมถึงการเรียนรู้และการประยุกต์ใช้ความรู้
ทักษะพิสัยรวมถึงการพัฒนาเสรี
ทางกายและทักษะที่ต้องการใช้กล้ามเนื้อสัมพันธ์กับประสาทจิตพิสัยเกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งเจตคติ
ความซาบซึ้งและค่านิยม
การเรียนรู้ทั้งสามประการนี้ควรได้รับการพิจารณาในการวางแผนผลที่ได้รับ
จากการเรียนรู้ที่ได้จากการเรียนการสอน ในการที่จะประสบผลสำเร็จตามจุดหมายของการศึกษา
ขอบเขต การเรียนรู้ทั่งสามนี้ต้องได้รับการบูรณาการเข้าไว้ในทุกลักษณะของการเรียนการสอนและการพัฒนา
หลักสูตรซึ่งจะทำให้ผู้เรียนกลายเป็นจุดโฟกัสของกระบวนการเรียนการสอนการเรียนรู้
ดังภาพประกอบที่ 3
ภาพประกอบที่ 3 บูรณาการของพุทธพิสัย
ทักษะพิสัย และจิตพิสัย
อนุกรมภิธาน
เป็นระบบของการแยกแยะบางสิ่งบางอย่าง ดังนั้น อนุกรมภิธานของการศึกษา
จึงแยกแยะพฤติกรรมที่นักเรียนสามารถคาดหวังที่จะทําให้ได้ภายหลังจากที่ได้เรียนรู้แล้ว
อนุกรมภิธาน เป็นที่รู้จักกันมากที่สุด คือ
อนุกรมภิธานด้านพุทธิพิสัยของบลูมและคณะ
พุทธิพิสัย
รวมถึง ความรู้ ความเข้าใจการนําไปประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และ
การประเมินค่า
พุทธิพิสัยแต่ละประเภทในอนุกรมภิธานประกอบด้วยองค์ประกอบบางประการของประเภท
ความรู้ที่ต้องมาก่อนอนุกรมภิธานนี้มีประโยชน์สําหรับการออกแบบหลักสูตรและการสร้างแบบทดสอบ
แผนภาพที่ 1 อนุกรมภิธานทางปัญญาของบลูม
แผนภาพที่ 2
อนุกรมภิธานทางเจตคติของบลูม
แผนภาพที่ 3
อนุกรมภิธานทางทักษะพิสัย
จิตพิสัย การเรียนรู้ทางเจตคติพาดพิงถึงคุณลักษณะของอารมณ์ของการเรียนรู้ เกี่ยวข้องการว่า นักเรียนรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับประสบการณ์การเรียนรู้ รู้สึกอย่างไรกับการเรียนรู้กับตนเอง และเป็นการ พิจารณาความสนใจ ความซาบซึ้ง เจตคติค่านิยมและคุณลักษณะของผู้เรียน
ทักษะพิสัย เกี่ยวข้องกับทางร่างกายหรือทักษะทางประสาทและกล้ามเนื้อสัมพันธ์กัน
ในการเฝ้าดูการเรียนรู้ที่จะเดินก็จะเกิดความคิดว่ามนุษย์เรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหวอย่างไร
เมื่อเด็กได้รับ ความคิดว่าต้องการอะไร และมีทักษะที่ต้องมีมาก่อนมีความแข็งแรง
และวุฒิภาวะและอื่นๆ เด็กจะพยายามมี ความหยาบๆ ซึ่งจะค่อยๆ
แก้ไขผ่านข้อมูลกลับย้อนมาจากสิ่งแวดล้อม เช่น ธรณีประตู การหกล้ม พรม ผู้ปกครอง
และสุดท้าย ทักษะการแสดงออกซึ่งมีคุณค่าต่อวัยเด็กเตาะแตะนั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น