แบบการเรียนรู้ (Learning Styles)
คําว่า Learning Styles ในคําภาษาไทยใช้คําว่า
ลีลาการเรียนรู้ หรือแบบการเรียนรู้ หรือวิธีการ
ที่เป็นการปฏิบัติของผู้เรียนในการจัดการเกี่ยวกับการเรียน
เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประ.. หลักสูตร ซึ่งแตกต่างกันไปตามสติปัญญา ลักษณะเฉพาะของผู้เรียน
และสภาพแวดล้อมทางการเรียน
แบบการเรียนรู้ (Learning Style) เป็นความคงที่ในการตอบสนองและการใช้สิ่งเร้าในบริบท
การเรียนรู้
อาจกล่าวได้ว่าผู้เรียนแต่ละคนเรียนรู้ได้ดีที่สุดด้วยกลวิธีหรือวิธีการที่สนองตอบกับความต้องการ
ของผู้เรียน โดยผู้เรียนแต่ละคนมีแบบการเรียนรู้ของตนเอง ไรซ์แมนและกราส์ซา
และเดวิด เอ คอล์บ ได้นําเสนอแบบการเรียนรู้ สรุปได้ดังนี้
Anthony F. Grasha and Sheryl Reichman (1980 cited in Nova
Southeastern University, 2004:31) จัดผู้เรียนตามแบบการเรียนรู้ได้
6 แบบ คือ
1. แบบอิสระ (Independent Style) ผู้เรียนมีแบบการเรียนรู้เฉพาะตนเอง แสวงหาความรู้และ ประสบการณ์ด้วยตนเอง
จะเรียนรู้เนื้อหาวิชาเฉพาะที่ตนเห็นว่ามีความสําคัญ เชื่อมั่นในความสามารถการ
เรียนรู้ของตนเอง แต่ก็รับฟังความเห็นของผู้อื่น
2. แบบหลีกเลี่ยง (Avoidance Style) ผู้เรียนมีแบบการเรียนรู้ที่ไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
ผู้เรียนไม่สนใจเนื้อหาวิชาที่จัดให้ ไม่สนใจสิ่งที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน
3. แบบร่วมมือ (Collaboration Style) ผู้เรียนมีแบบการเรียนรู้ชอบที่จะทํางานร่วมกันกับผู้อื่น
เรียนรู้ได้ดีด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
ถือห้องเรียนเป็นแหล่งปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการเรียนรู้
เนื้อหาวิชาตลอดจนกิจกรรมนอกหลักสูตร
4. แบบพึ่งพา (Dependent Style) ) ผู้เรียนมีแบบการเรียนรู้ที่ต้องการคําบอกเล่าว่าต้องทําอะไร
อย่างไรและเมื่อไร ผู้เรียนกลุ่มนี้ต้องการรับคําสั่งหรืองานที่มอบหมาย
อาจารย์และเพื่อน มีความต้องการเรียนรู้เฉพาะจากสิ่งที่กําหนดให้เรียนเท่านั้น
5. แบบแข่งขัน (Competitive Style) ผู้เรียนมีแบบการเรียนรู้ที่จะพยายามทําให้ดีกว่าคนอื่น
ผู้เรียนค้นหาความรู้โดยใช้หลักในการเรียนรู้ที่ผู้เรียนพยายามที่จะทําสิ่งต่าง ๆ
ให้ได้ดีกว่าคนอื่น ใช้หลักในการเรียนรู้
เรียนเพื่อให้มีผลการเรียนดีกว่าเพื่อนในชั้นเรียน ต้องการรางวัลในชั้นเรียน เช่น
คะแนน มีลักษณะการแข่งขันแบบแพ้ชนะ
6. แบบมีส่วนร่วม (Participant Style) ผู้เรียนมีแบบการเรียนรู้ที่ต้องการมีส่วนร่วม ในกิจกรรมในชั้นเรียน
ผู้เรียนต้องการเรียนรู้เนื้อหาวิชาในห้องเรียนและชอบที่จะเข้าชั้นเรียน แต่ไม่
จะร่วมกิจกรรมที่ไม่อยู่ในรายวิชาที่เรียน
David A. Kolb (1995 อ้างในคณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้
กระทรวงศึกษาธิการ,2543 : 19-20) จัดกลุ่มผู้เรียนตามแบบการเรียนเป็น
4 กลุ่ม ดังนี้
1. แบบนักปฏิบัติ (active
experimentation) ผู้เรียนกลุ่มนี้จะเรียนรู้ได้ดี
เมื่อได้ลงมือปฏิบัติ การเรียนรู้เกิดจากการกระทําควบคู่ไปกับการคิด
2. แบบนักสังเกต (reflective
observation) ผู้เรียนกลุ่มนี้จะเรียนรู้จากการสังเกตปรากฏการณ์
ต่าง ๆ แล้วนํามาจัดระบบระเบียบเป็นความรู้
3. แบบนักคิดสร้างมโนทัศน์ (abstract
conceptualization) ผู้เรียนกลุ่มนี้จะเรียนรู้โดยวิเคราะห์
และสังเคราะห์ การรับรู้ที่ได้เป็นองค์ความรู้
4. แบบนักประมวลประสบการณ์ (concrete
experience) ผู้เรียนกลุ่มนี้จะเรียนรู้โดยการ วิเคราะห์
และประเมินด้วยหลักเหตุผล
McCarthy (อ้างในศักดิ์ชัย นิรัญทวีและไพเราะ
พุ่มมั่น, 2542 : 7-11) ได้ขยายแนวคิดของคอล์บ
โดยเสนอแบบการเรียนรู้ 4 แบบ ดังนี้
แบบที่ 1 เป็นผู้เรียนที่ถนัดจินตนาการ
(imaginative learners) ผู้เรียนจะรับรู้ผ่านประสาทสัมผัส
และประมวลกระบวนการเรียนรู้จากการสังเกต นําไปสะท้อนความคิดเชิงเหตุผล
ผู้เรียนกลุ่มนี้มักถามถึง เหตุผลว่า ทําไม (why) ผู้เรียนมักถามว่า
ทําไมต้องเรียนสิ่งนั้นสิ่งนี้ จะต้องหาเหตุผลที่จะต้องเรียนรู้ก่อน สิ่งอื่น ๆ
แล้วจะเกี่ยวข้องกับตัวเขาหรือสิ่งที่เขาสนใจอย่างไร โดยเฉพาะเรื่อง ความเชื่อ
ค่านิยม ความรู้สึก ชอบขบคิดปัญหาต่าง ๆ ค้นหาเหตุผลและสร้างความหมายเฉพาะของตนเอง
ผู้เรียนกลุ่มนี้จะเรียนรู้ได้ดีเมื่อ อภิปราย โต้วาที ใช้กิจกรรมกลุ่ม
การเรียนรู้แบบร่วมมือกัน ครูต้องให้เหตุผลก่อนเรียน หรือระหว่างเรียน
แบบที่ 2 เป็นผู้เรียนที่ถนัดการวิเคราะห์
(analytic learners) ผู้เรียนจะรับรู้ผ่านการประมวล ข้อมูล
โดยนําสิ่งที่รับรู้มาประมวลกับประสบการณ์เป็นการเรียนรู้ใหม่ ๆ
ผู้เรียนกลุ่มนี้จะถามเกี่ยวกับ ข้อเท็จจริง คําถามที่สําคัญคือ อะไร (what)
ผู้เรียนกลุ่มนี้ต้องการข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเหมาะสมเพื่อนำไปพัฒนาเป็นความคิดรวบยอด
(concept) หรือจัดระบบระเบียบของความคิด
ผู้เรียนกลุ่มนี้มุ่งเน้นรายละเอียดข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง
จะยอมรับผู้รู้จริงหรือผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ที่มีอํานาจสั่งการเท่านั้น ผู้เรียน
กุมนจะเรียนก็ต่อเมื่อรู้ว่า จะต้องเรียนอะไร อะไรที่เรียนได้
สามารถเรียนได้ดีจากการบรรยาย การ ทดลอง การทํารายงาน การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย
แบบที่ 3 เป็นผู้เรียนที่ถนัดใช้สามัญสํานึก
(common sense learners) ผู้เรียนจะรับรู้โดยผ่านกระบวนการคิคจากสิ่งที่เป็นนามธรรม
กระบวนการเรียนรู้ได้จากการทดลองหรือปฏิบัติจริง
มีการมองหากลยุทธ์ในการปรับเปลี่ยนความรู้เพื่อนําไปใช้ คําถามที่สําคัญคือ
อย่างไร (how) ผู้เรียนกลุ่มนี้สนใจทดสอบ ทฤษฎีหรือปฏิบัติจริง
โดยวางแผนนําความรู้ในภาคทฤษฎีที่เป็นนามธรรมไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมใน
กลุ่มนี้ต้องการเป็นผู้ปฏิบัติ
ใฝ่หาสิ่งที่มองเห็นว่าเป็นประโยชน์และตรวจสอบว่าข้อมูลที่ได้มานั้นสามารถใช้ได้ในชีวิตจริงหรือไม่
สนใจที่จะนําความรู้ไปสู่การปฏิบัติจริง อยากรู้ว่าจะทำได้อย่างไร รูปแบบการเรียนการสอนที่ควรเป็นก็คือ
การทดลอง การให้ปฏิบัติจริง ทําจริงหรือสถานการณ์จำลองก็ได้
แบบที่ 4 เป็นผู้เรียนที่ถนัดการปรับเปลี่ยน
(dynamic learners) ผู้เรียนจะรับรู้ผ่าน
รูปธรรมและผ่านการกระทํา คําถามที่สําคัญคือ ถ้าอย่างนั้น ถ้าอย่างนี้ (If)
ผู้เรียนจะเรียนรู้โดยลงมือทำ ในสิ่งที่ตนเองสนใจ
และค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ชอบรับฟังความคิดเห็นหรือคําแนะนํา แล้วนำข้อมูลมาประมวลเป็นความรู้ใหม่
ผู้เรียนกลุ่มนี้จะมองเห็นความซับซ้อนของสิ่งที่เรียนรู้ สามารถสร้าง
แสดงความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ แล้วนําเสนอเป็นรูปแบบที่แปลกใหม่
การสอนผู้เรียนกลุ่มนี้จะระ แบบค้นพบด้วยตนเอง (self discovery method)
แบบการเรียนรู้ (learning styles) เป็นเพียงการจัดกลุ่มที่มีลักษณะโดยรวมเท่านั้น
ไม่อาจจําแนก
ได้เฉพาะเจาะจงว่าผู้เรียนคนใดคนหนึ่งจะจัดอยู่ในกลุ่มของแบบการเรียนแบบใดแบบหนึ่ง
ดังที่การ์ดเนอะ (howard gardner) ที่ได้เสนอทฤษฎีพหุปัญญา (multiple
intelligence theory) 8 ด้าน คือ ด้านภาษา ด้านตรรกะและ คณิตศาสตร์
ด้านดนตรี ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านการรู้จักตนเอง
ด้านความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล และด้านความเข้าใจธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
ผู้สอนสามารถใช้แบบการเรียนรู้ที่มาจากสติปัญญา
หนึ่งด้านหรือสองด้านเพื่อให้เกิดการเรียนการสอนมีประสิทธิผลสูงสุด โดยปกติผู้สอน
ทดสอบ และการ ได้รับข้อมูลป้อนกลับประกอบด้วยสติปัญญาสองด้าน คือ ภาษา (verbal/linguistic)
และเหตุผล (logical mathematical) การนําแนวคิดพหุปัญญามาใช้ควรจะเป็นการใช้คุณลักษณะเด่นของสติปัญญา
เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
ประการสําคัญผู้สอนต้องคํานึงอยู่เสมอว่าในชั้นเรียนหนึ่ง ๆ มี
ผู้เรียนทุกแบบการเรียนรู้ ดังนั้นผู้สอนจําเป็นต้องใช้แบบการสอน (teaching
style) ที่หลากหลายเพื่อ
ตอบสนองแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ครอบคลุม
ผู้เรียนมีโอกาสได้พัฒนาความสามารถของตนเองเต็มตาม ศักยภาพ
พหุปัญญา (Multiple Intelligences)
Howard Gardner (2011) Gardner, Howard. Frames of Mind: The
Theory of Multiple New York: Basic Books, 2011. ได้พัฒนาทฤษฎีพหุปัญญาโดยทฤษฎีโต้แย้งความคิดเกี่ยวกับความเก่งและปัญญาของมนุษย์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามที่เคยระบุความหมายไว้แต่เดิมซึ่งเรียก “ไอคิว” (IQ) นั้นไม่เพียงพอที่จะนําไปสู่การแสดงความสามารถของมนุษย์ที่มีมากมายหลากหลาย
ที่แนวคิดเดิมเน้น มนุษย์เพียงสองด้าน คือ ด้านภาษาและด้านคณิตศาสตร์
การ์ดเนอร์ได้เสนอแนวคิดว่าปัญญา หรือพหุปัญญาจะพบในทุกวิถีชีวิต
การเรียนรู้ที่ดีที่สุดอาจเกิดจากตัวป้อนที่ให้ผ่านวิธีการที่ต่างกัน 6 อาจจะทําได้ดีในเรื่องที่ไม่ใช่คณิตศาสตร์
หรืออาจจะมีกระบวนการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งกว่า ที่เหนือชั้นกว่า
แค่จําหลักคิดได้เท่านั้น การ์ดเนอร์เสนอว่าปัญญามีอยู่ 8 ด้าน
ดังต่อไปนี้
1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic
intelligence) เป็นปัญญาความสามารถในการใช้ถ้อยคํา (“word smart")
2. ปัญญาด้านตรรกะ - คณิตศาสตร์ (Logical-mathematical
intelligence) เป็นปัญญา สามารถทางด้านจํานวนตัวเลขและเหตุผล (“number/reasoning
smart”)
3. ปัญญาด้านมิติ (Spatial
intelligence) เป็นปัญญาความสามารถด้านการคิดเป็นรูปภาพ ชามารถมองเห็นโลกในรูปของภาพ
และสามารถจําลองสร้างภาพนั้น ๆ ได้ (“picture stnart”)
4. ปัญญาทางด้านดนตรี Musical
intelligence เป็นปัญญาที่มีความสามารถสูงทางด้านดนตรี คือ
ความสามารถและชื่นชมในเสียง ทํานองจังหวะ และสามารถผลิตสียง ทํานอง จังหวะได้ดี (“music
smart”)
5. ปัญญาด้านร่างกาย การเคลื่อนไหว(Bodily-Kinesthetic
intelligence) เป็นปัญญา
ความสามารถพิเศษในการควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกาย
และในการใช้มือเพื่อจัดกระทํากับสิ่งของ (“body smart")
6 ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal
intelligence) เป็นปัญญาความสามารถพิเศษ ในการทํางานร่วมกับผู้อื่น
มีความเข้าใจผู้อื่นสามารถที่จะสังเกตรับรู้อารมณ์ ความคิดความปราถนาของ ผู้อื่น (“people
smart”)
7.ปัญญาด้านด้านปฏิสัมพันธ์ต่อตนเอง (Intrapersonal
intelligence) เป็นปัญญาความสามารถ เข้าใจอารมณ์ของตนเองได้ดี (“self
smart”)
8. ปัญญาด้านการเข้าใจเรื่องธรรมชาติ (Naturalist
intelligence) เป็นปัญญาความสามารถสังเกต
เชื่อมโยงข้อมูลกับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ (“nature smart”)
สาระสําคัญเกี่ยวกับทฤษฎีพหุปัญญา
คือ ทุกคนมีปัญญาทั้ง 8 ด้านนี้ในตน
และปัญญาแต่ละด้าน สามารถพัฒนาให้อยู่ในระดับใช้การได้ การ์ดเนอร์กล่าวสรุปไว้ว่า
ปัญญาทั้ง 8 ด้านจะสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน กิจกรรมต่าง ๆ
ในชีวิตจะไม่มีกิจกรรมใดที่ใช้เฉพาะปัญญาด้านใดด้านเดียว คําแนะนําที่ดีก็คือ
ไม่ทุ่มเทไปที่ ปัญญาด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว แต่ควรจะสัมพันธ์ปัญญาหลายๆ
ด้านในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น