การสอนเพื่อความเข้าใจ: การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ
การกําหนดจุดหมายที่พึงประสงค์ในการสอนเพื่อความเข้าใจครูจะพิจารณาว่านักเรียนมีความ พื้นฐานที่เป็นสิ่งที่มีคุณค่าและน่าจะรู้อะไรบ้างแล้ว จากนั้นกําหนดขอบข่ายให้แคบลงว่านักเรียนควรม จําเป็นต้องรู้และจําเป็นต้องทํา นักเรียนควรทําความเข้าใจในเรื่องใด และควรทําอะไรได้บ้าง ควรมก เข้าใจที่ยั่งยืนอะไรบ้าง ครูจะต้องพิจารณาวิธีการประเมิน ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นว่ากิจกรรมการเรียนการ จะต้องลุ่มลึกกว่าที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก (ระบุหลักฐานและเกณฑ์ในการประเมินผลชัดเจน) จึงจะสาพัฒนาให้เกิดความเข้าใจในระดับที่ลึกซึ้ง
การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward Design)
Wiggin ได้เสนอเสนอกระบวนการออกแบบ การเรียนรู้ที่ย้อนกลับ จากจุดหมายการเรียนรู้และมาตรฐานกําหนดไว้ โดยเริ่มจากจุดหมายการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ จากนั้นจึงออกแบบหลักสูตร ออกแบบ แผนการจัดการเรียนรู้ และออกแบบการประเมินผลการเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน เริ่มจากจะวิเคราะห์ตั้งแต่ช่วงแรกของการออกแบบหลักสูตรว่า หากนักเรียนบรรลุจุดหมายที่กําหนดไว้ จะต้องพิจารณาจากสิ่งใดหรือจากหลักฐานอะไร จึงจะถือว่านักเรียนได้เกิดความเข้าใจในระดับที่พึงประสงค์ วิธีการนี้จะช่วยให้ครูมี ความชัดเจนในเรื่องจุดหมาย และออกแบบให้มีความสอดคล้องกันระหว่างกิจกรรมการเรียนการสอนและ จดหมายที่พึงประสงค์ การออกแบบแบบย้อนกลับ (backward design) จะมี 3 ขั้นตอนดังนี้
การกําหนดจุดหมายในการจัดการเรียนรู้
การกําหนดหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนได้บรรลุจุดหมายการเรียนรู้ที่กําหนดไว้
การวางแผนจัดประสบการณ์การเรียนรู้
การกําหนดจุดหมายในการจัดการเรียนรู้
ผู้สอนจะพิจารณาว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานที่เป็นสาระสําคัญและรู้อะไรแล้ว กําหนดขอบข่ายว่า นักเรียนจําเป็นต้องรู้สาระอะไร และจะต้องทําอะไรได้ ผู้เรียนควรทําความเข้าใจในเรื่องใด ควรทําอะไรได้ บ้าง และควรมีความเข้าใจที่ลุ่มลึกและยั่งยืนในเรื่องใด Wiggin ได้เสนอเกณฑ์พิจารณากําหนดจุดหมาย 4 ประการ ได้แก่
1. จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้น เป็นประเด็นหลักที่จะมีคุณค่านอกบริบทการเรียนการสอน ในห้องเรียนหรือไม่ ความเข้าใจที่ยั่งยืนต้องไม่เป็นเพียงข้อมูลหรือทักษะ เฉพาะเรื่องเท่านั้น แต่จะต้องเป็น เรื่องหลัก ประเด็นหลัก ที่สามารถนําไปปรับประยุกต์ในสถานการณ์อื่นๆ นอกห้องเรียน
2. จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้น เป็นหัวใจของศาสตร์ ที่เรียนหรือไม่ นักเรียนควรมีโอกาส ผ่านกระบวนการของศาสตร์นั้น ๆ เพื่อจะได้เรียนรู้ว่าองค์ความรู้ในศาสตร์นั้นๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร
3. จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้น ต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจ เพียงใด มีเนื้อหาสาระเป็นจํานวนมากที่ซับซ้อน ยาก และเป็นนามธรรมเกินที่นักเรียนจะเข้าใจได้ด้วย ตนเอง หัวข้อเหล่านี้ ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ และควรบรรจุในการเรียนการสอนมากกว่าเนื้อหาที่เข้าใจ ง่าย ที่นักเรียนอาจเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
4. จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้น เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของนักเรียน มีหลายหัวข้อ หลาย กิจกรรมที่นักเรียนสนใจตามวัยอยู่แล้ว สามารถเลือกมาใช้เพื่อเป็น “ประตู” ไปสู่เรื่องอื่นที่ใหญ่กว่า หาก สามารถเชื่อมโยงเรื่องที่เรียนไปสู่เรื่องที่นักเรียนสนใจ จะช่วยทําให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าต่อเนื่องด้วยตนเอง ต่อไป
การวางแผนการจัดการเรียนรู้
เมื่อมีความชัดเจนเกี่ยวกับจุดหมายการเรียนรู้และหลักฐานที่เป็นรูปธรรมแล้วผู้สอนสามารถเริ่ม วางแผนการจัดการเรียนรู้ได้ โดยอาจตั้งคําถามดังต่อไปนี้
ความรู้และทักษะอะไรจะช่วยให้นักเรียนมีความสามารถตามจุดหมายที่กําหนดไว้
กิจกรรมอะไรจะช่วยพัฒนานักเรียนไปสู่จุดหมายดังกล่าว
สื่อการสอนจึงจะเหมาะสมสําหรับกิจกรรมการเรียนรู้ข้างต้น

การออกแบบโดยรวมสอดคล้องและลงตัวหรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น