การวิเคราะห์งาน
การวิเคราะห์งานเป็นการตรวจสอบว่าในการศึกษานั้น ๆ มีงานใดที่เป็นชีวิตจริง และมีความรู้ทักษะและเจตคติใดบ้างที่นําไปสู่ความสําเร็จในการทํางานนั้นๆ การวิเคราะห์งานช่วยให้แน่ใจว่าจะได้สาระและคุณค่าที่เกี่ยวข้องในการเรียนรู้
คําถามหลักที่ใช้ในการวิเคราะห์งาน ในการวิเคราะห์งาน มีคําถามหลัก 3 ข้อ คือ
การะใดงานใดเป็นขียภาพนดของงาน
การจัดเรียงลําดับของแต่ละภาระงานคืออะไร
เวลาที่ใช้ในการท้าแต่ละภาระงาน
สุดท้ายหาคําตอบให้ได้ว่าภาระงานใดมีความสําคัญ เนื่องจากงาน ประกอบด้วยภาระงาน
หลายภาระงาน
การวิเคราะห์งานทําได้อย่างไร
วิธีการวิเคราะห์งานที่ใช้บ่อย คือ
การสอบถาม (questionnaires) การสํารวจ โดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ หรือไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์สอบถามผู้เชี่ยวชาญ เป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายน้อยและได้ข้อมูลจำนวนมาก
การสัมภาษณ์ (interviews) การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ หรือการพบปะสนทนาเป็นรายบุคคลกับ ผู้เชี่ยวชาญ เป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลามาก แต่มีข้อดีสําหรับคําถามปลายเปิด หรือสามารถถามเพิ่มเติม ในประเด็นที่ต้องการได้ทันที
การสนทนากลุ่ม (Focus group) การสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะให้ผลดีกว่าในประเด็นที่จะ ช่วยให้ตรงประเด็นมากกว่า มิฉะนั้นอาจจะเข้าใจผิดหรือมโนทัศน์ที่ผิดพลาดได้
การวิเคราะห์ภาระงาน
การวิเคราะห์การะงานคล้ายคลึงกันกับการวิเคราะห์งานแต่มีระดับของการวิเคราะห์อยู่ที่รายละเอียด – หน่วยย่อย การวิเคราะห์งานทำได้โดยการจําแนกงานออกเป็นภาระงานหลายภาระงาน จากนั้น การวิเคราะห์ภาระงานก็จะวิเคราะห์ย่อยลงถึงส่วนประกอบ โดยใช้คําถามในการวิเคราะห์เช่นเดียวกันกับการ วิเคราะห์งาน ดังนี้
ส่วนประกอบของแต่ละภาระงานคืออะไร
ส่วนประกอบแต่ละส่วนสามารถนํามาเรียงลําดับด้วยอะไรได้บ้าง
ส่วนประกอบแต่ละส่วนต้องใช้เวลาเท่าไร
ขั้นตอนที่จําเป็น (critical steps) คืออะไร และเส้นทางวิกฤติ (critical pathy) คืออะไร
ขั้นตอนที่จําเป็นหมายถึงภาระงานที่ไม่สามารถข้าม ละเว้นไม่ต้องปฏิบัติภาระงานนั้น มิฉะนั้นจะ มีผลเสียต่อผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้น สืบเนื่องมาจากผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นปัจจัยป้อนให้กับขั้นตอนต่อไป ส่วนเส้นทางวิกฤติเป็นผลต่อเนื่องจากขั้นตอนที่จําเป็น เส้นทางวิกฤติมีผลต่อโอกาสที่จะประสบผลสําเร็จ ของงานได้และในทํานองเดียวกันก็อาจเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งก็ได้
การตัดสินใจเลือกภาระงานต้องคํานึงถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ซึ่งโปรแกรมที่ดีต้อง แสวงหาวิธีการที่ดีที่สุดภายใต้กรอบค่าใช้จ่ายที่ได้รับ และต้องสนองจุดหมายของการเรียนรู้ไปพร้อมกัน การเลือกภาระงานอาจแบ่งภาระงานได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มภาระงานที่จัดไว้สําหรับการเรียนแบบปกติ (formal) 2. กลุ่มภาระงานที่จัดไว้สําหรับการฝึกอบรมขณะปฏิบัติงาน (on - the - job - training : OJT)
3. กลุ่มภาระงานที่ไม่จัดไว้ทั้งการเรียนแบบปกติหรือ การฝึกอบรมขณะปฏิบัติงาน เช่น ชุด การศึกษาด้วยตนเอง ฯลฯ
คำถามที่ใช้การวิเคราะห์
donal Clark, (2004 : 10) ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคำถามในการวิเคราะห์ภาระงานไว้ ดังนี้
ภาระงานนี้มีความยุ่งยาก หรือซับซ้อนเพียงใด
ในการปฏิบัติงานต้องใช้พฤติกรรมใดบ้าง
ภาระงานนี้จะต้องกระทําบ่อยเพียงใด
ภาระงานนี้มีความสําคัญต่อการปฏิบัติงานมากน้อยเพียงใด
แต่ละคนทําภาระงานนี้ถึงระดับใด หรือเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชิ้นงาน ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของชิ้นงาน อะไรเป็นความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานต่าง ๆ
หากปฏิบัติภาระงานผิดพลาดหรือไม่ปฏิบัติเลย ผลจะเป็นอย่างไร
อะไรเป็นขอบเขตของภาระงานในการปฏิบัติงานนั้น ๆ
ระดับความชํานาญที่คาดหวังในการปฏิบัติภาระงาน ควรจะอยู่ระดับใด
ภาระงานมีความสําคัญอย่างไร
สารสนเทศใดที่มีความจําเป็นต่อการปฏิบัติภาระงาน และจะได้มาจากแหล่งใด
อะไรคือเงื่อนไขในผลการปฏิบัติงาน
ในการดําเนินงานตามระบบ จําเป็นต้องมีการประสานงานกับบุคคลฝ่ายอื่น หรือภาระงานอื่น หรือไม่
ภาระงานนั้นๆ มากเกินกว่าความต้องการในด้านต่างๆ หรือไม่ เช่น ด้านการรับรู้ (perceptual) ด้าน ความรู้ (cognitive)และด้านทักษะ (psychomotor ) และด้านกายภาพ ( Physical)
ภาระงานนี้จะต้องกระทําบ่อยเพียงใดภายใต้กรอบเวลา เช่น (รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายปี)
การปฏิบัติภาระงานนี้ต้องใช้เวลามากน้อยเพียงใด
ในการปฏิบัติภาระงานนี้ บุคคลต้องมีทักษะ ความรู้ และความสามารถต่างๆ อะไรเป็นพื้นฐาน
เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินการปฏิบัติที่ยอมรับได้ในปัจจุบันคืออะไร
และเกณฑ์ที่พึงประสงค์คืออะไร
พฤติกรรมใดที่สามารถจําแนกได้ว่า ใครเป็นผู้ปฏิบัติงานที่ดี
พฤติกรรมใดที่มีความสําคัญ ต่อผลการปฏิบัติงานตามภาระงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น