KPA ย่อมาจาก Knowledge Practice Attitude
KPA หมายถึง เกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ประกอบด้วยการประเมินด้านความรู้ (Knowledge) ด้านทักษะและการปฏิบัติ (Practice) และด้านเจตคติหรือคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Attitude) การประเมินจะแบ่งตามลักษณะของรายวิชาด้วยเครื่องมือที่แตกต่างกันไปเช่น การประเมินด้านความรู้ (K) จะนิยมใช้แบบทดสอบในการประเมิน ในขณะที่การประเมินด้านทักษะ (P) จะใช้ภาระงานหรือชิ้นงานมาประกอบกับเกณฑ์การให้คะแนน (Rubrics) มาประเมิน ส่วนด้านเจตคติ (A) จะใช้การประเมินตามสภาพจริงซึ่งมีความซับซ้อนกว่า 2 อย่างแรก

เรื่อง  Backword Design  ซึ่งเป็นรูปแบบการสอนของ  Grant Wiggins และ Jay McTighe
  
      
                  Grant Wiggins                                              Jay McTighe

จะเริ่มจากหลังมาหน้า  จากเป้าหมายหรือผลการเรียนที่คาดหวัง  ทั้งนี้ผู้สอนจะต้องชัดเจนในเรื่องของความรู้ความเข้าใจ  ทักษะทางความคิดและการปฏิบัติงานที่เขาต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
องค์ประกอบสำคัญของหน่วยการเรียนรู้ (Unit Plan)
1.  กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
2.  หลักฐานผลการเรียน
3.  แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
ขอเล่าเรื่องและสรุปตามความเข้าใจของครูอ้อยในการอบรมครั้งนี้
Backward Design  มีขั้นตอนของการออกแบบการสอนดังนี้
ขั้นตอนที่ กำหนดการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                   –  ความเข้าใจรวบยอด (Big Ideas)
                               –  แนวคิดหลัก (Core Concepts)
                               –  แก่นเรื่อง (Themes)
                               –  ประเด็นปัญหา (Issues)
                               –  ทฤษฎี (Organizing Theory)
                               –  หลักการ (Overarch Principles)
                   –  คำถามที่สรุปความคิดรวบยอด (Essential Questions)
                   –  มาตรฐานรายวิชา
                               –  ทำตัวบ่งชี้ (Performance Indicators)  กำหนดว่าผู้เรียนต้องรู้อะไร  ทำอะไรเป็น ในบริบทใด
                   –  ความรู้และทักษะ
                               – สิ่งที่ต้องการให้นักเรียนรู้ (Know) และปฏิบัติ (Performance)
ขั้นตอนที่  2  หลักฐานผลการเรียน
ขั้นตอนที่  3  วางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
ขั้นตอนที่  4  ประเมินผลหน่วยการเรียนรู้
ข้อสังเกตบางประการ  ได้แก่
หากครูเข้าใจหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544  จะเข้าใจ Backwad Design ได้ง่ายและชัดเจน
 นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีความสามารถ  ดังนี้
1.  มีแนวคิด  อธิบาย  ประกอบข้อมูล  ทฤษฎี  มีเหตุผล
2.  ตีความ แปลความ  เชื่อมโยงเข้าสู่การปฏิบัติในชีวิตจริง
3.  นำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างชาญฉลาด
4.  เข้าใจ  มีมุมมองที่แยบยล  หลากหลาย
5.  มีความละเอียดอ่อน  เรียนรู้และเข้าใจผู้อื่นได้อย่างถ่องแท้
6.  รู้จักตนเอง  แก้ไขข้อบกพร่องของตนเองได้อย่างถูกต้อง  ทันเวลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น